วันนี้เป็นการนำเสนอในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย ทั้งหมด 5 กลุ่ม 5 หัวข้อคือ
1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด
3. พีชคณิต
4. เรขาคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งต่างๆซึ่งเป็นสิ่งที่บอกจำนวนมากหรือน้อย
การดำเนินการ หมายถึง การกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์
จำนวนและการดำเนินการ หมายถึง ความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวน
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3-5 ปี
1. มีความรู้ความเข้าใจและมีพํฒนาการด้านความรู้เชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกิน 5 มีความ เข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาณ และเวลา สามารถเปรียบเทียบได้
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่างๆ
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล
ตัวอย่าง
เด็กสามารถบอกจำนวนสิ่งของได้
2. การวัด
การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน
แต่ถ้าหากสอนกับเด็กอนุบาลแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับการวัดนั้นล้วนไม่มีหน่วย
3. พีชคณิต
เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเลขาคณิตและการวิเคราะห์ พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์และจำนวน
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบและความสัมพันธ์ในแบบรูปที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่าง ให้เด็กแยกรูปนี้
เด็กก้สามารถแยกได้ออกมาดังนี้ แยกด้วยสี
4. เลขาคณิต
รูปร่างรูปทรงที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย คือส่งเสริมโดยการจัดมุมการเรียนรู้สนับสนุนให้เด็กเรียนรู้เรื่องรูปร่าง รูปทรง เช่น มุมบล็อก บทบาทสมมุติ มุมหนังสือ เป็นต้น
ครูควรจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเรื่องรูปร่าง รูปทรง ในหน่วยต่างๆ เด็กสามารถสังเกตุสิ่งที่อยู่รอบตัว
ส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกให้เด็กได้คิด โดยมีเลขาคณิตเป็นเป็นสื่อ
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบและจำแนกหรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความคล้ายกัน และกลุ่มที่มีความแต่งต่างออกไป ต่อมาเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิ หรือ วิธีการอื่นๆ
เช่นตัวอย่าง
เด็กนำชื่อเล่นของตัวเองมาแปะตามตัวอักษรหน้าที่อยู่ด้านล่างโดยการเปรียบเทียบ และต่อกันเป็นกราฟดั่งในรูป
ความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนไปในวันนี้ สามารถนำไปปรับใช้และต่อยอดทางการศึกษาได้ สามารถประยุกต์และนำมาเป็นการเรียนการสอนในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น